เศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี
ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ
แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น
และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ
เปลี่ยนแปลงเป้าหมาย
มุ่งให้เกิดความสมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและ
กว้างขวาง ทั้งทางวัตถุสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
มีหลักพิจารณา ดังนี้
กรอบ
แนวคิด
เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมี
พื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา
และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ
เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
คุณลักษณะ
เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ
โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้
"ความพอเพียง" หมายถึง ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล โดยสร้างภูมิ คุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร เพื่อที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว กว้างขวาง ทั้ง ทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี โดย อาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และความระมัดระวังในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ วางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ควบคู่ไปกับการสร้างพื้นฐานจิตใจของคนใน ชาติทุกระดับ ให้สำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร ความมีสติปัญญา และความรอบคอบ มีเหตุผล
โดยที่ความพอประมาณนั้น หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มาก เกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอ ประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของพอเพียงนั้น จะ ต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดและผลที่จะ เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้นั้น ขั้นแรก ต้องยึดหลัก "พึ่งตนเอง" คือ พยายามพึ่งตนเองให้ได้ก่อน ในแต่ละครอบครัวมีการบริหารจัดการอย่างพอดี ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนต้องรู้จักตนเอง เช่น ข้อมูล รายรับ-รายจ่าย ในครอบครัวของตนเอง สามารถรักษาระดับการใช้จ่ายของตน ไม่ให้เป็นหนี้ และรู้จักดึงศักยภาพในตัวเองในเรื่องของปัจจัยสี่ให้ได้ในระดับหนึ่ง
การพัฒนาตนเองให้สามารถ "อยู่ได้อย่างพอเพียง" คือ ดำเนินชีวิตโดยยึด หลักทางสายกลางให้อยู่ได้อย่างสมดุล คือ มีความสุขที่แท้ ไม่ให้รู้สึกขาดแคลน จนต้องเบียดเบียนตนเอง หรือดำเนินชีวิตอย่างเกินพอดี จนต้องเบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม โดย
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันทีดีในตัว หมายถึง การ
เตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ
ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกลการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
นั้น ขั้นแรก ต้องยึดหลัก "พึ่งตนเอง" คือ พยายามพึ่งตนเองให้ได้ก่อน ในแต่ละครอบครัวมีการบริหารจัดการอย่างพอดี ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนต้องรู้จักตนเอง เช่น ข้อมูล รายรับ-รายจ่าย ในครอบครัวของตนเอง สามารถรักษาระดับการใช้จ่ายของตน ไม่ให้เป็นหนี้ และรู้จักดึงศักยภาพในตัวเองในเรื่องของปัจจัยสี่ให้ได้ในระดับหนึ่ง
การพัฒนาตนเองให้สามารถ "อยู่ได้อย่างพอเพียง" คือ ดำเนินชีวิตโดยยึด หลักทางสายกลางให้อยู่ได้อย่างสมดุล คือ มีความสุขที่แท้ ไม่ให้รู้สึกขาดแคลน จนต้องเบียดเบียนตนเอง หรือดำเนินชีวิตอย่างเกินพอดี จนต้องเบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม โดย
- ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้
- ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพ
- ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต
- ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าขาย ประกอบอาชีพ
แบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง
- มุ่งเน้นหาข้าวหาปลา ก่อนมุ่งเน้นหาเงินหาทอง
- ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย ฯลฯ
เงื่อนไข
เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้อง อย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณา ให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วยมีความตระหนัก ในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติ ปัญญาในการ ดำเนินชีวิต
แนว
ทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ
จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ
การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน
ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
4 มิติ ได้แก่
1 .ด้านวัฒนธรรม คือ สร้างความภูมิใจ/เห็นคุณค่าของวัฒนธรรม ค่านิยม เอกลักษณ์ และความเป็นไทย
2.ด้านวัตถุ คือ ปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนรู้จักใช้ วัตถุ/สิ่งของ/ทรัพยากรอย่างพอเพียง
3.ด้านสิ่งแวดล้อม คือ ปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์ธรรมชาติ / สิ่งแวดล้อม
4.ด้านสังคม คือ มีการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ /แบ่งปัน/ไม่เบียดเบียน